07 สิงหาคม, 2552

The Science of Fencing



กีฬาฟันดาบ มิติมุมมอง ที่มี ความลึก และ ความกว้าง ที่แตกต่าง พลวัตรใหม่ ที่ต้องสำรวจกับแนวคิดโบราณ การรู้เท่าทันพลวัตร แบบการมอง
กีฬาสมัครเล่น กับกีฬาอาชีพ การสนับสนุนที่แตกต่าง

การบริหารองค์ความรู้ (Knowledge Management )
เป็นกระบวนการจัดการความรู้ ความสามารถ และทักษะอื่นๆ ที่มีอยู่ในองค์การมาบริหารเพื่อเพิ่มคุณค่าของกิจการภายในองค์การ ซึ่งต้องประกอบไปด้วยการค้นหา การจัดการ และประยุกต์ใช้ความรู้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง

ทำไมองค์กรต้องมีการจัดการความรู้
1. โครงสร้างการบริหารขององค์กรไม่คล่องตัว และมีการปรับเปลี่ยนเพื่อ มุ่งเน้นการพัฒนา
2. วัฒนธรรมองค์กรยังเป็นเชิงอนุรักษ์นิยม ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติ
3. ความจำเป็นในการวางแผนและนำแผนไปใช้เชิงธุรกิจ (Business Plan)
4. ขาดทักษะในการจัดการเชิงระบบ ไม่เคยมีระบบมาก่อน
5. ขาดการจูงใจจากผู้นำที่มีความสามารถโน้มน้าวจิตใจคนอื่นให้ปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ
6. ขาดการเอื้ออำนาจ ผู้นำขาดการสร้างวัฒนธรรมการให้ความไว้วางใจกัน ขาดการยอมรับความผิดพลาดร่วมกัน
7.ขาดการสนับสนุนทรัพยากรที่เหมาะสม และการอำนวยการ จัดการระบบ
8. ไม่ยอมเผชิญความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งขาดการประเมินความเสี่ยงล่วงหน้า และวางมาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้า
9. ขาดวิสัยทัศน์ หรือขาดการนำวิสัยทัศน์มาเป็นจุดร่วมกันเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
10. ขาดสมรรถนะที่เป็นเลิศ และความสามารถในการแข่งขัน

องค์กรแห่งการเรียนรู้Learning Organization
Personal Mastery เป็นความรอบรู้แห่งตน
Mental Model มีแบบแผนของความคิด
Team Learning เรียนรู้เป็นทีม
System Thinking คิดอย่างเป็นระบบ
Share Value วิสัยทัศน์ร่วมกัน

เวลา และอำนาจที่แปรเปลี่ยน
ยุคข้อมูลข่าวสารคือ อำนาจ Information is Power
องค์กรใช้คอมพิวเตอร์เน้นระบบงานต่าง ๆ เช่น
- ระบบการให้บริการลูกค้า (Customer Service System)
- ระบบบัญชีและการเงิน (Financial Information System)
- ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control System)
- ระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร MIS (Management Information System)
- ระบบข้อมูลเพื่อตัดสินใจ DSS (Decision Support System)
- ระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหารระดับสูง EIS (Executive Information System)

ยุคภูมิปัญญาคืออำนาจ Knowledge is Power
รู้เท่า รู้ทัน ใช้ทัน ต้องวาง KM เพื่อทำสงครามกับความเปลี่ยนแปลงทุกเสี้ยววินาที

การจัดการองค์ความรู้
เป็นกระบวนการบริหารรูปแบบหนึ่ง เน้นการพัฒนา ด้านการเรียนรู้
1. พัฒนากระบวนงาน Business Process
2. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ Learning Process
3. มีความสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking
4. ทีมงานสร้างสรรค์สังคมแห่งภูมิปัญญาKnowledge Society
5. ด้วยกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่า Value Added Activities

แนวทางการบริหารองค์ความรู้
1. กำหนดวิสัยทัศน์ ชัดเจน
2 .กำหนดกลยุทธ์ ที่จะทำ
3 .เริ่มด้วยการพัฒนารูปธรรมของการเรียนรู้
เช่น ห้องประชุม ห้องสมุด เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายสื่อสาร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสื่อสาร อุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติ
4. เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ; ปลูกฝังทัศนคติ พัฒนาทักษะ รู้สึกเป็นเจ้าของ โดย ลืมเรื่องเก่า เข้าเรื่องปัจจุบัน ไปสู่เรื่องอนาคต
5. การวัดผลการเรียนรู้ ; วัดเป็นรายบุคคล วัดที่ผลงาน วัดที่ระบบ (KM ไม่ใช่ผลลัพธ์ของแต่ละบุคคล แต่ต้องทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นนโยบายขององค์กร)

การดำเนินการและเครื่องมือ
��ควรเริ่มต้นด้วยการทำโครงการนำร่องในหน่วยงานขนาดเล็ก แล้วจึงขยายผลทั่วทั้งองค์กร โดยขยายไปที่หน่วยงานขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ
��เริ่มทำ KM ในเรื่องที่เกี่ยวกับงาน แล้วเลือกใช้วิธีการจัดเก็บความรู้ที่เหมาะสม
��แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ทำในสิ่งที่ผู้ปฏิบัติสนใจ
��เริ่มต้นที่การแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มงานเดียวกันก่อน แล้วจึงขยายผลไปในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
��หาผู้ช่วยในการจัดเก็บ / บันทึกความรู้ เพื่อลดภาระงานของผู้ปฏิบัติงาน
��เอาวิธีการของ KM แทรกไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ
��ใช้วิธีการของการทำ KM ในการฝึกอบรม
��มีการจัดตั้งคลังสมองเพื่อกลั่นกรองความรู้ นำมาเผยแพร่แล้ว นำไปใช้จริงในปัจจุบัน
��นำระบบพี่เลี้ยง ระบบโอนย้ายงานในการจัดการความรู้
��จัดให้มีแหล่งความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น นำระบบ IT เข้ามาช่วยในการแลกเปลี่ยนความรู้
��การแลกเปลี่ยนความรู้ในบรรยากาศไม่เป็นทางการดีกว่าบรรยากาศที่เป็นทางการ เนื่องจากทำให้พูดคุยกันได้ง่ายขึ้น เช่น พูดคุยขณะจิบกาแฟยามเช้า
�� ““ศึกษางาน ควานหาผู้รู้ สู่การลงมือ ”” การทำ CoP ควรเชิญผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ มาประชุมร่วมกัน แบ่งกลุ่มรับผิดชอบศึกษาความรู้ในแต่ละเรื่อง แล้วกลับมาประชุมอภิปรายร่วมกัน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาเขียนเป็นคู่มือปฏิบัติงาน
��เชิญผู้รู้จากทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมาร่วมให้ความรู้ในการทำ CoP

กระบวนการจัดการความรู้ ( แสวงหา สรรค์สร้าง สะสม สั่งสอน )
1.การเข้าถึงความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร เพื่อเข้าให้ถึงความรู้ (Knowledge accessibility) อยู่ในองค์กร 2 ลักษณะ คือ
1.1 ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge ) เช่น หนังสือ ตำรา วารสาร หนังสือต่าง ๆ VDO อยู่ใน electronic file ฯลฯ
1.2 ความรู้ที่ฝังแน่นอยู่ในสมองคน (Tacit Knowledge) ฝังอยู่ในความคิด หรืออาจอยู่ในลักษณะที่แฝงอยู่
2. การสร้างความรู้ นำเอาความรู้ที่ฝังแน่นอยู่ในตัวบุคคลมาใช้ การสร้างความสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ (Knowledge generation )
3. การสะสมความรู้ (Knowledge accumulation) โดยจัดหมวดหมู่ความรู้ ให้เหมาะแก่การใช้งาน
4. การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge dissemination) นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์



CoPs (Community of Practices)เป็นกิจกรรมที่คนทำงานลักษณะเดียวกัน รวมกลุ่ม พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความรู้ในงานที่ทำ ให้กันและกัน โดยสมัครใจ และมีเป้าหมายตรงกันที่จะ
-ช่วยเหลือกัน
-ค้นหา ทบทวน รวบรวม และเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
-รวบรวม ปรับปรุง และเผยแพร่ความรู้ที่ใช้ในงานประจำ
-เพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ๆร่วมกัน
-ต่างคนต่างก็เอาสิ่งที่ตนปฏิบัติได้ผลดีมาพูดแลกเปลี่ยนกันไปมา โต้ตอบซักถามกันในบรรยากาศที่เป็นกันเอง และไว้วางใจ ไม่มีใครเก่งที่สุด บางคนทำแบบหนึ่ง บางคนทำอีกแบบหนึ่ง ไม่มีผิด ไม่มีถูก มีทัศนคติ "มีดีต้องแชร์

COP ย่อมาจาก Community of Practice ซึ่งหมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ สำหรับคนในชุมชนเพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆ

COP เป็น 1 ใน เครื่องมือของการจัดการความรู้ (KM Tools) ประเภท Non-Technical Tools สำหรับการดึงความรู้ประเภท Tacit Knowledge หรือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใน
ลักษณะที่สำคัญของ COP
* กลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา (Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Knowledge Domain)
* ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชน (community) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
* แลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน ต้อง Practice และสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติ

ประโยชน์ของ COP
ระยะสั้น
* เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง
* ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม
* ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ
* หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว
* ลดระยะเวลา และการลงทุน
* เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
* ช่องทางในการเข้าหาผู้เชียวชาญ
* ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา
* ความผูกพันในองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
* ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน
* ได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวมทั้ง
อาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหา
ระยะยาว
* เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร
* เกืดความสามารถที่ไม่คาดการณ์ไว้
* วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
* แหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
* เกิดโอกาสพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด
* เครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ
* ชื่อเสียงในวิชาชีพเพิ่มขึ้น
* ได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานสูงขึ้น
* รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้
* เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร
* ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

ลักษณะการทำ COP
* แบบกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่
* แบบเป็นทางการ (Public) - เปิดเผย และไม่เป็นทางการ (Private) - ส่วนตัว
* แบบบนลงล่าง (Top Down) และรากหญ้า (Grass Root)
* แบบแยกฝ่าย และคละฝ่าย
* แบบคนในองค์กร-คนในองค์กร และคนในองค์กร-คนนอกองค์กร
* แบบระหว่างคน-คน และระหว่างคน-สื่อ-คน

ประเภทของ COP
* Helping Communities เพื่อแก้ปัญหาประจำวันและแลกเปลี่ยนแนวคิดในกลุ่มสมาชิก
* Best Practice Communities เน้นการพัฒนา ตรวจสอบและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
* Knowledge-stewareding Communities เพื่อจัดระเบียบ ยกระดับ และพัฒนาความรู้ที่สมาชิกใช้เป็นประจำ
* Innovation Communities เพื่อพัฒนาแนวคิด โดยเน้นการข้ามขอบเขต เพื่อผสมผสานสมาชิกที่มุมมองต่างกัน

การทำ COP ให้บรรลุเป้าหมายของ KM
เป้า หมายของ KM : Knowledge Mangement หรือ การจัดการความรู้ คือ ดึงความรู้ในตัวบุคคลในรูปของ Tacit Knowledge ออกมาจัดเก็บให้กลายเป็นความรู้ที่ปรากฎชัดแจ้ง หรือ Explicit Knowledge เพื่อสร้าง Best Practices หรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ สำหรับให้บุคคลอื่นสามารถนำไปทดลองใช้ และต่อยอดยกระดับความรู้นั้นขึ้นเรื่อยๆ


กฤต สตารัตน์ รวบรวมเรียบเรียงข้อมูล (อันดับต่อไปอาจจะนำเสนอผ แนวคิดและวิธีการ สร้างโคชทั้งสามดาบในภาพรวม โดยสมาคมฯ การแบ่งระดับความสามารถโคช เพื่อการปฏิบัติและการพัฒนา โดยนำแนวคิดของสมาคมฟันดาบจากต่างประเทศมาเป็นต้นแบบวิเคราะห์ความเหมาะสม การจัดองค์ความรู้ กีฬาฟันดาบสากล สำหรับ การศึกษาทุกระบบ ทุกแบบ ทุกระดับ ในประเทศไทย ถ้าสมาคมฯไม่ริเริ่มทำใครจะทำ สิ่งที่ต้องการสำหรับระบบการศึกษา ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร คือ Curriculum Structure โครงสร้างหลักสำหรับหลักสูตร ....Course Syllabus การประมวลรายวิชาที่จะสอนตามหลักสูตร และ Lesson Plan แผนบทเรียนของเนื้อหาที่จะทำการสอนตามรายวิชานั้นๆ ที่กล่าวมานั้น สถาบันการศึกษาทำเองตามลำพังไม่ได้ครับ ต้องปรึกษาสมาคมฯ ในรายละเอียดของเนื้อหาที่เหมาะสมเพียงพอและมีความถูกต้อง มีลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหา วิธีการที่จะไ้ด้มาตามที่กล่าว ก็ใช้แนวทางตามที่ผมเสนอไว้ข้างต้นนี้เองครับ KM เริ่มวางรากฐานองค์ความรู้วันนี้ตามหลักวิชาการ ตัวองค์ความรู้นี้จะถูกลูกหลานนักกีฬาฟันดาบมาพัฒนาต่อไปในอนาคต

หมากรุกที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ จะพอรึยังกับการแปลความหมายที่มีระยะห่างกับส่วนสัมพันธ์โดยนัยของความเข้าใจ อีกเรื่องครับ เรื่อง Ranking ข้อความในวงเล็บ (ปัจจุบันการให้คะแนนเหมือนให้ตามความพอใจของสมาคมฯ ) ผมรู้ครับว่าทำโดยมีหลักการ ส่วนใครกล่าวผมไม่ทราบทำไมจึงมีผู้กล่าวเช่นนั้น ผมเคยกล่าวถึงบางรายการที่จัดการแข่งขันลองไปย้อนดู ที่มาของ Ranking ประเด็นที่ผมเสนอคือ การตัดสินไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม จะส่งผลกระทบโดยตรง กับ Rank ใช่หรือไม่ นักกีฬาที่ได้รับการคัดเลือกโดยใช้ Rank ที่บิดเบือน เวลาออกไปแข่งผลเป็นยังไงเห็นแล้วรึยังครับกรุณาตรวจสอบดูด้วย ผลที่เกิดขึ้นมามันกระทบกับส่วนรวมหรือไม่ ทั้งในแง่ งปประมาณฯ แง่การจัดการ ฯลฯ สิ่งที่ผมกล่าวไว้ล่วงหน้าเป็นจริงตามที่กล่าว บทพิสูจน์ที่รอคอยการแก้ไข ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องอยู่ไหนครับผม ชัดเจนรึยังครับ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ RANK ถ้ายังมีข้อกังขา ผมเปิดรายละเอียดที่เกัี่ยวข้องทั้งหมดตามข้อเท็จจริง ตรงนี้ ที่นี่ ก็ได้ครับ ถ้าไม่ทราบหรือไม่รู้เรื่องจริงๆ ต้องการความกระจ่าง ผมยินดีนำเสนอเรื่องนี้ให้เห็นกันชัดๆก็ได้ ไม่อยากฟื้นฝอยหาตะเข็บ แกล้งเอาหูไปนาเอาตาไปไร่แล้ว อะไรไม่ดีก็แก้กันไป นี่ผมพยายามอย่างที่สุดในการแสดงออก ไม่ให้เกินเลยความเป็นจริงและหรือสร้างความเท็จ จนไปกระทบให้มีผู้เสียหายเกิดขึ้นทั้งโดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ ณ ปัจจุบันนี้ กรุณารับทราบด้วยขอรับกระผม ช่วยกันสร้าง ให้โอกาสกัน ทุกคนมีโอกาสผิดพลาด ผมไม่ต้องการคำอธิบายใดๆตอนนี้ อย่าคิดว่าคนอื่นเค้าโง่ ขอให้รู้ว่าจุดบกพร่องอยู่ที่ไหนแล้วแก้ไขก็จบ ถ้าไม่รู้ก็รู้ได้แล้วครับ แต่ถ้ายังทำกันแบบฝืนธรรมชาติมากเกินไปจนรับไม่ได้ ค่อยว่ากันอีกทีครับ นะท่านนะ ใช้โอกาสที่มีอยู่สร้างสรรค์จรรโลงดีกว่าครับ ทำงานที่ตัวเองชอบทำมีความถนัด หรืองานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดแล้วรึยัง สังคมจะได้รับประโยชน์ อย่ามัวแต่สร้างภาพ กับแก้ตัวแก้ต่าง

ไม่มีความคิดเห็น: